พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
เหรียญรุ่นแรก พ...
เหรียญรุ่นแรก พระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ (หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม) วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
เหรียญรุ่นแรก พระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ (หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม) วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
(ตอกหมายเลข 3845)
(เริ่มอุดม) สร้างถวาย
เมื่อเรียนหลักสูตรเร่งรัดจบแล้ว หลวงปู่เกิดความต้องการที่จะบวชเป็นเณรเพื่อจะได้ศึกษาต่ออีก ด้วยในสมัยนั้นการศึกษาของกุลบุตรกุลธิดาต้องศึกษาในวัด ถ้าเป็นฆราวาสจะได้เรียนเพียงชั้นประถมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ หลักสูตรการเรียนของสามเณรในสมัยนั้นได้บรรจุหลักสูตรการฝึกหัดครู และวิชาพระพุทธศาสนา วิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ควบคู่กันไป ซึ่งใน ๑ ปีการศึกษาเปิดสอนเพียง ๓ เดือนเท่านั้น
หลวงปู่จึงขออนุญาตบิดาบวชเณร บิดาท่านก็อนุญาตให้บวชที่วัดยอดแก้วศรีวิชัย (วัดกลาง) ที่หลวงปู่เป็นลูกศิษย์วัดอยู่นั่นเอง ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยมี พระมหาแก้ว รัตนปัญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ ๑๖ ปี เมื่อบวชแล้ว บิดาได้พามาอยู่ที่ วัดป่าศิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบัน) ที่บิดาและลุงได้ร่วมกันสร้างไว้ วัดนี้เป็นวัดธรรมยุตที่ในขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นเจ้าอาวาส
หมายเหตุ : พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เดิมเป็นพระมหานิกาย ท่านเป็นพระที่มีใจคอหนักแน่นเด็ดเดี่ยว เก่งทางช่างไม้ ช่างก่อสร้าง แกะสลัก เขียนภาพ ช่างเหล็ก ช่างปั้นดินเผา และมีความรู้ทางยาแผนโบราณ เรื่องว่าน เลียงผา ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีคาถาอาคม เช่น วิชากำบังตัว คงกระพันชาตรี เชี่ยวชาญในการปราบผีทุกชนิด เป็นต้น ตอนหลังมาได้ญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย โดยฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ใน พ.ศ. ๒๔๖๕ ท่านจึงหันมาสนใจการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น เพื่อนรุ่นสหธรรมิกของท่าน คือ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน), เจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์), พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม, พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล และหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นต้น (จากหนังสือชีวประวัติอภินิหารของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน หน้า ๑๗)
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ให้การอบรมหลวงปู่ถึงวิธีการบำเพ็ญเพียรภาวนาสมาธิและกัมมัฏฐานอยู่ ๒ พรรษา ทางด้านสมถกัมมัฏฐาน ได้เน้นให้บริกรรมพุทโธพร้อมทั้งอานาปานสติด้วย ส่วนทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้เน้นให้พิจารณากายานุปัสสนา ต่อมาเมื่อขึ้นพรรษาที่ ๓ หลวงปู่จึงเริ่มออกเดินธุดงค์ไปเองเรื่อยๆ โดยมีเด็กรับใช้ติดตามไปด้วย ๑ คน ชื่อเด็กชายทองมา เป็นชาวอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันถูกตั้งให้เป็นจังหวัดอำนาจเจริญแล้ว) สำหรับ “ธุดงค์” นั้น เป็นข้อวัตรปฏิบัติที่พระป่า พระอริยเจ้าทั้งหลายถือปฏิบัติ พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เรียกว่า ธุดงควัตร มี ๑๓ ข้อ แล้วแต่ผู้ใดจะเลือกปฏิบัติข้อใด
วันหนึ่งได้เดินธุดงค์ไปถึงวัดกลาง ซึ่งเป็นวัดมหานิกายแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ตัดสินใจศึกษาต่อเน้นหลักสูตรการฝึกหัดครู เพื่อจะได้ออกไปรับราชการได้ในภายหลัง แต่คงเป็นด้วยอำนาจบุญบารมีที่จะทำให้หลวงปู่ได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ต่อไป จึงได้เกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น กล่าวคือ บังเอิญวันนั้นเป็นวันพระ ที่วัดมีงานปลงผม (โกนผม) พระในวัด หลวงปู่ได้ช่วยงานปลงผมพระจำนวน ๓๐ รูป
หลังจากช่วยงานเสร็จแล้วรู้สึกอ่อนเพลียมาก จึงได้กลับไปจำวัด (นอน) เมื่อตื่นนอนขึ้นมา ปรากฏว่าไม่สามารถลุกขึ้นได้ มีอาการชาตามแขนขา ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งอาการเช่นนี้หลวงปู่เล่าว่าเป็นอยู่นานประมาณ ๖ เดือน จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาต่อดังที่ตั้งใจไว้ได้ และด้วยอานิสงส์แห่งบุญบารมีในอดีตชาติที่ได้บำเพ็ญเพียรมา จึงทำให้ขณะที่ป่วยนั้นเกิดมีแรงดลใจนึกรู้ขึ้นมาเอง (นิรุตติ) ว่า จะหายป่วยจากโรคนี้ได้จะต้องกลิ้งตัวบนยอดหญ้าที่มีน้ำค้างเกาะ แล้วต้องอาบน้ำอุ่นจัดประมาณ ๒ โอ่งมังกร ทุกเช้า ทุกวัน จึงจะหาย ดังนั้น หลวงปู่จึงได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระลึกรู้ขึ้นมานั้น เมื่อปฏิบัติแล้วได้มานั่งพิจารณาตามเนื้อตัวของตนเอง พบว่ามีเหงื่อผุดออกมาตามรูขุมขน ขนาดใหญ่เท่าเม็ดข้าวโพด แม้จะเอาผ้าเช็ดตัวมาเช็ด เหงื่อก็ยังผุดออกมาตลอดเวลา ทำให้ตัวเบาขึ้น
หลวงปู่ได้ปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน ตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม อาการดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อหายป่วยแล้วได้เดินทางกลับอำเภอมุกดาหาร (ปัจจุบันถูกตั้งให้เป็นจังหวัดมุกดาหารแล้ว) ขณะนั้นมีอายุย่างเข้า ๒๐ ปี จึงตั้งใจจะบวชเป็นพระ เพราะอายุครบที่จะบวชพระได้แล้ว และคิดเสียสละชีวิตดังที่เคยอธิษฐานไว้ว่า “ถ้าไม่มีบุญบารมีก็จะหนีไปตายดีกว่า” บิดาจึงทำพิธีบวชพระให้ในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยมี พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสารภาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอธิการทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ที่ วัดหัวเวียงรังษี ตำบลพระธาตุ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยพระอุปัชฌาย์ขนานนามเป็นภาษามคธให้ว่า “ฐิตธมฺโม” แปลว่า “ตั้งมั่นในธรรม”
เมื่อบวชแล้ว ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าศีลาวิเวกกับท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เช่นเดิม ที่วัดนี้หลวงปู่ได้เริ่มฝึกปฏิบัติตนตามแนวพระป่าอย่างจริงจัง ด้วยอุปนิสัยเดิมที่ติดตัวมาจากอดีตชาติ จนกระทั่งเข้าพรรษาที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๐ (อายุประมาณ ๒๑ ปี หลวงปู่จึงเดินทางไปยัง วัดเกาะแก้วอัมพวัน ตำบลพระธาตุ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล จำพรรษาอยู่ แต่ในพรรษานั้นหลวงปู่เสาร์ได้ไปจำพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ทำให้หลวงปู่ไม่ได้พบกับหลวงปู่เสาร์
ขณะที่จำพรรษาอยู่วัดเกาะแก้วอัมพวันแห่งนี้ หลวงปู่ได้เริ่มอดอาหารเพื่อทรมานสังขารเป็นครั้งแรก ฉันแต่น้ำปานะเท่านั้น นับเป็นเวลา ๑๕ วัน และปักกลดในป่าช้าตลอดพรรษา (โสสานิกังคะ คือ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร) การฝึกอดอาหารนี้พระป่านิยมฝึกปฏิบัติกัน เพราะช่วยทำให้ตัวเบา ไม่ง่วงเหงาหาวนอน มีผลดีต่อการบำเพ็ญเพียรสมาธิภาวนา ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติสมาธิภาวนาได้ต่อเนื่องยาวนาน เกิดความก้าวหน้าในการฝึกจิต ส่วนการทรมานสังขารและปักกลดในป่าช้า จะเป็นการช่วยฝึกสติ ทำให้ไม่ประมาท หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่จึงเดินทางกลับมาที่วัดป่าศีลาวิเวก ขณะนั้น ท่านพระอาจารย์เกียง เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ซึ่งย้ายไปอยู่ วัดบ้านกุดแห่ (วัดป่าสุนทราราม) อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน) ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๘๑
ในเวลาต่อมา พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร เจ้าอาวาสวัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (พระอาจารย์อุ่น เดิมอยู่วัดศรีษะเกษ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แต่เดิมท่านญัตติเป็นมหานิกาย ต่อมาญัตติใหม่เป็นธรรมยุติกนิกาย มีนิสัยเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างอุกฤษฏ์ อดนอน และฉันเจตลอดชีวิต พระอาจารย์อุ่นได้เดินทางมาเที่ยววิเวกที่วัดป่าศิลาวิเวก และเมื่อท่านจะเดินทางกลับ ได้ชักชวนพระติดตามไปด้วยอีก ๓๐ รูป ซึ่งในพระกลุ่มนี้มี หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม รวมอยู่ด้วย การเดินทางติดตามพระอาจารย์อุ่นมาจังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่ได้มาจำพรรษาที่วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) และได้จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมาจวบจนปัจจุบันนี้
ที่วัดบ้านจิก พระทุกรูปถือปฏิปทาการฉันเจเป็นวัตร เนื่องจากนายพันตำรวจโทพระยงค์พลพ่าย กับภรรยาคือคุณแม่ทิพย์ ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากสำคัญของวัดนี้ ได้มีศรัทธาประกอบอาหารเจถวายพระอยู่เสมอ (อาหารเจในสมัยนั้นไม่มีผักผลไม้มากมายเหมือนปัจจุบัน จะมีเพียงพริกโขลกผสมกับเกลือและผักบางชนิดเท่านั้น) การฉันเจนี้ช่วงแรกๆ ที่ฉัน ร่างกายยังปรับตัวไม่ได้ จะมีอาการอ่อนเพลีย แต่พระทุกรูปพอใจที่จะฉันเช่นนี้เนื่องจากถือว่าเป็นการฝึกทรมานตนเองไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร เมื่อออกธุดงค์ไปในป่าจะได้มีความอดทน สามารถฉันตามมีตามเกิดได้
เมื่อย่างเข้าพรรษาที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่มีอายุประมาณ ๒๔ ปี พระอาจารย์อุ่นเริ่มนำคณะซึ่งประกอบด้วยหลวงปู่ และพระเณรประมาณ ๓๐ รูป ออกธุดงค์ เมื่อเดินทางไปถึงบ้านปากดง หลวงปู่เกิดมีความคิดที่จะกลับไปศึกษาต่อเพื่อออกไปรับราชการใช้ชีวิตอย่างฆราวาสอีก จิตมันถอยกลับไม่อยากอยู่เป็นพระอีกต่อไป จึงได้เดินทางกลับมายังวัดบ้านจิก ส่วนพระอาจารย์อุ่นยังคงอยู่ที่บ้านปากดงเช่นเดิม
แต่เป็นเรื่องที่แปลกมาก ทุกครั้งที่พระอาจารย์อุ่นบำเพ็ญภาวนา จิตจะไม่ยอมรวมลง และมักจะเกิดนิมิตเห็นหน้าหลวงปู่อยู่เสมอ จิตอ่อน น้ำตาตกใน จึงปรารภกับตัวเองว่า พระองค์นี้สำคัญแค่ไหน แม่ของเราแท้ๆ ซึ่งเราเองก็คลอดออกมาจากท้องแม่ เมื่อแม่เสียชีวิตเรายังไม่ถึงกับน้ำตาไหลเลย ทำไมพระองค์นี้จึงทำให้น้ำตาเราไหลได้ จึงอธิษฐานจิตก่อนนั่งสมาธิเพื่อขอทราบว่า พระองค์นี้มีบุญบารมีเพียงใด เมื่อนั่งภาวนาต่อไปอีก ๒ ชั่วโมง สมาธิจึงลงได้
เกิดนิมิตครั้งแรก พบว่าพระอาจารย์อุ่นและหลวงปู่ได้ธุดงค์เข้าไปในป่า ซึ่งทางเข้าป่านั้นมีศาลาที่พักริมทางสำหรับคนเดินทาง หลวงปู่ได้นิมนต์พระอาจารย์อุ่นให้นั่งพักบนศาลา และในขณะนั้นมีชีปะขาวรูปหนึ่งขึ้นมาถวายน้ำ
พระอาจารย์อุ่นจึงพูดขึ้นว่า น้ำใสจริง แล้วต่างองค์ต่างก็ฉันน้ำจนหมดแก้ว
จากนั้นหลวงปู่จึงพูดขึ้นว่า ถึงเวลาแล้วจะต้องเดินทาง
และเมื่อเดินทางเข้าไปในป่า พระอาจารย์อุ่นเดินนำหน้าไปถึงกลางดง ได้พบท่อนซุงท่อนใหญ่ล้มขวางทางอยู่ หลวงปู่จึงนิมนต์พระอาจารย์อุ่นให้นั่งภาวนาบนท่อนซุงนั้น โดยทั้งสององค์จะนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเหมือนกัน
พระอาจารย์อุ่นหันมามองหลวงปู่ เห็นหลวงปู่เคี้ยวหมากปากเปื้อนน้ำหมากเป็นสีแดง จึงถามว่า ท่านทำไมจึงเคี้ยวหมากปากแดง
หลวงปู่ตอบว่า ชาวบ้านเขาถวายหมาก ท่านอาจารย์จะรับหมากด้วยกันหรือไม่
พระอาจารย์อุ่นจึงตอบว่า ไม่ ขี้เกียจบ้วนน้ำหมาก
หลวงปู่จึงพูดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเดินทาง
ในระหว่างที่เดินทางไปธุดงค์ในนิมิตนั้น หลวงปู่ได้บ่นกับพระอาจารย์อุ่นว่า ทำไมหนอการบำเพ็ญเพียรจึงต้องทุกข์ยากลำบากขนาดนี้
พระอาจารย์อุ่นได้ตอบว่า ทุกข์มากเท่าใด เราก็จะได้รับความสุขมากเท่านั้น (หมายความว่า ทุกข์เป็นของมีค่า บุคคลใดได้เห็นทุกข์ บุคคลนั้นย่อมหาเหตุแห่งการพ้นทุกข์ และบุคคลนั้นย่อมมีโอกาสพ้นทุกข์ได้นั่นเอง)
ขณะเดินทางในนิมิตนั้น หลวงปู่จะถือไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดทางเดิน พร้อมทั้งสะพายเครื่องอัฐบริขารไปด้วย
พระอาจารย์อุ่นเดินตามมาข้างหลังจึงถามหลวงปู่ว่า ไม่หนักหรือเพราะต้องสะพายทั้งเครื่องอัฐบริขารและกวาดทางเดินไปด้วย กวาดเพื่ออะไร
หลวงปู่ตอบว่า กวาดเพื่อปัดขวากหนามออก ทำให้คนเดินทางได้สะดวกขึ้น
พระอาจารย์อุ่นจึงบอกว่า วางเครื่องอัฐบริขารลงก่อน จะได้ไม่หนัก
หลวงปู่ตอบว่า หนักไม่เป็นไร
เมื่อเดินทางต่อไปเรื่อยๆ จะพบทางสองแพร่ง ทางหนึ่งเป็นทางชัน มีเสียงการละเล่นมหรสพดังมาด้วย อีกทางหนึ่งเป็นทุ่งหญ้า หลวงปู่ตัดสินใจจะเดินไปทางชันที่มีเสียงมหรสพ แต่พระอาจารย์อุ่นบอกว่าให้ไปทางที่มีทุ่งหญ้าดีกว่า แล้วเดินนำทางไป หลวงปู่จึงเดินตามพระอาจารย์อุ่นไป และพบว่าทุ่งหญ้านั้นเขียวขจี เรียบและนุ่มประดุจพรมกำมะหยี่ หลวงปู่จึงพูดขึ้นว่า ถึงเวลานั่งภาวนาแล้ว
ทั้งพระอาจารย์อุ่นกับหลวงปู่จึงนั่งลงภาวนาหันหน้าเข้าหากัน
เมื่อนั่งภาวนาไปได้พักหนึ่ง หลวงปู่จึงแบมือทั้งสองข้างออกมาข้างหน้าพร้อมกับกล่าวว่า คนเรียนเหมือนคนนอนหลับ คนปฏิบัติเหมือนคนแบมือรับ
พระอาจารย์อุ่นกล่าวตอบรับว่า จริงแล้ว พร้อมกับยื่นลูกแก้วให้ ๒ ลูก ลูกหนึ่งเป็นสีขาว อีกลูกหนึ่งเป็นสีเหลือง
หลวงปู่กำลูกแก้วไว้ในมือข้างละลูก เมื่อลุกขึ้นยืนจะเอาลูกแก้วใสเก็บไว้ในย่าม ปรากฏว่าตัวท่านมีย่าม ๒ ใบ สะพายอยู่ข้างซ้ายและขวา จึงใส่ลูกแก้วลงในย่ามข้างละใบพร้อมทั้งกล่าวว่า ถึงเวลาต้องเดินทางต่อแล้ว
(ความตอนนี้หลวงปู่ได้เมตตาอธิบายความหมายให้ฟังว่า คนเรียนเหมือนคนนอนหลับ หมายความว่า คนที่เรียนรู้แต่ทฤษฎีเป็นคนไม่รู้จริง เปรียบเสมือนคนนอนหลับ คนปฏิบัติเหมือนคนแบมือรับ หมายความว่า คนที่เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติหรือผู้ที่ปฏิบัติจริงจังจึงจะเป็นผู้รู้จริง เปรียบเสมือนคนแบมือออกรับ ลูกแก้วสีขาวก็คือแก้วรัตนตรัยหรือความบริสุทธิ์ ลูกแก้วสีเหลืองก็คือสีผ้ากาสาวพัสตร์ ซึ่งเป็นสีธงชัยของพระอริยเจ้านั่นเอง)
เมื่อเดินทางออกมาพ้นจากทุ่งหญ้าก็พบทางสามแพร่ง มีวงเวียนอยู่ตรงกลางปรากฏเห็นปราสาท ๓ หลัง แต่ละหลังหันไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ตามลำดับ ปราสาททุกหลังจะประดับด้วยแก้ว พระอาจารย์อุ่นให้หลวงปู่ไปตรวจดูปราสาทแต่ละหลังก่อนที่จะขึ้นไปนั่งภาวนา เมื่อหลวงปู่ขึ้นไปบนปราสาทหลังแรก ปรากฏว่าพระอาจารย์อุ่นก็เดินขึ้นไปบนปราสาทอีกหลังหนึ่งแล้ว พระอาจารย์ทั้งสองต่างพูดขึ้นพร้อมกันว่า เสนาสนะนี้เป็นที่สัปปายะ จิตพระอาจารย์อุ่นก็ถอนออกจากสมาธิ ทั้งหมดนี้เป็นนิมิตในวันแรกของการอธิษฐาน
อ้างอิง
http://www.dhammajak.net
ผู้เข้าชม
1846 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
mon37
ชื่อร้าน
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
ร้านค้า
mon99.99wat.com
โทรศัพท์
0903569057
ไอดีไลน์
Golf (ID LINE:Golf6), (มน ID:090-3569057)
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อพิบูลย์หลั
เหรียญหลวงพ่อพิบูลย์ บล็อค๘ ก
หล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน วัดบางมู
รูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่บุญ
เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์พร สุม
ตัดชิด หลวงปู่ขาว อนาลโย วัด
เปิด เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อพระค
เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ
รูปเหมือน หลวงพ่อทบ ฐานสูงหน้
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ep8600
tintin
termboon
ว.ศิลป์สยาม
เพ็ญจันทร์
Le29Amulet
เจริญสุข
mon37
Manas094
ยุ้ย พลานุภาพ
ทองธนบุรี
ภูมิ IR
gorn9
chaithawat
แหลมร่มโพธิ์
นิสสันพระเครื่องหนองคาย
ก้อง วัฒนา
TotoTato
someman
Netnapa
Mannan4747
pratharn_p
Kshop
fuchoo18
ศรัทธา
มนต์เมืองจันท์
พล ปากน้ำ
nattapong939
แมวดำ99
พระเครื่องโคกมน
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1227 คน
เพิ่มข้อมูล
เหรียญรุ่นแรก พระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ (หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม) วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
เหรียญรุ่นแรก พระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ (หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม) วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
รายละเอียด
เหรียญรุ่นแรก พระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ (หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม) วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
(ตอกหมายเลข 3845)
(เริ่มอุดม) สร้างถวาย
เมื่อเรียนหลักสูตรเร่งรัดจบแล้ว หลวงปู่เกิดความต้องการที่จะบวชเป็นเณรเพื่อจะได้ศึกษาต่ออีก ด้วยในสมัยนั้นการศึกษาของกุลบุตรกุลธิดาต้องศึกษาในวัด ถ้าเป็นฆราวาสจะได้เรียนเพียงชั้นประถมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ หลักสูตรการเรียนของสามเณรในสมัยนั้นได้บรรจุหลักสูตรการฝึกหัดครู และวิชาพระพุทธศาสนา วิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ควบคู่กันไป ซึ่งใน ๑ ปีการศึกษาเปิดสอนเพียง ๓ เดือนเท่านั้น
หลวงปู่จึงขออนุญาตบิดาบวชเณร บิดาท่านก็อนุญาตให้บวชที่วัดยอดแก้วศรีวิชัย (วัดกลาง) ที่หลวงปู่เป็นลูกศิษย์วัดอยู่นั่นเอง ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยมี พระมหาแก้ว รัตนปัญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ ๑๖ ปี เมื่อบวชแล้ว บิดาได้พามาอยู่ที่ วัดป่าศิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบัน) ที่บิดาและลุงได้ร่วมกันสร้างไว้ วัดนี้เป็นวัดธรรมยุตที่ในขณะนั้น ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นเจ้าอาวาส
หมายเหตุ : พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เดิมเป็นพระมหานิกาย ท่านเป็นพระที่มีใจคอหนักแน่นเด็ดเดี่ยว เก่งทางช่างไม้ ช่างก่อสร้าง แกะสลัก เขียนภาพ ช่างเหล็ก ช่างปั้นดินเผา และมีความรู้ทางยาแผนโบราณ เรื่องว่าน เลียงผา ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีคาถาอาคม เช่น วิชากำบังตัว คงกระพันชาตรี เชี่ยวชาญในการปราบผีทุกชนิด เป็นต้น ตอนหลังมาได้ญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย โดยฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ใน พ.ศ. ๒๔๖๕ ท่านจึงหันมาสนใจการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น เพื่อนรุ่นสหธรรมิกของท่าน คือ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน), เจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์), พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม, พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล และหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นต้น (จากหนังสือชีวประวัติอภินิหารของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน หน้า ๑๗)
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ให้การอบรมหลวงปู่ถึงวิธีการบำเพ็ญเพียรภาวนาสมาธิและกัมมัฏฐานอยู่ ๒ พรรษา ทางด้านสมถกัมมัฏฐาน ได้เน้นให้บริกรรมพุทโธพร้อมทั้งอานาปานสติด้วย ส่วนทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้เน้นให้พิจารณากายานุปัสสนา ต่อมาเมื่อขึ้นพรรษาที่ ๓ หลวงปู่จึงเริ่มออกเดินธุดงค์ไปเองเรื่อยๆ โดยมีเด็กรับใช้ติดตามไปด้วย ๑ คน ชื่อเด็กชายทองมา เป็นชาวอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันถูกตั้งให้เป็นจังหวัดอำนาจเจริญแล้ว) สำหรับ “ธุดงค์” นั้น เป็นข้อวัตรปฏิบัติที่พระป่า พระอริยเจ้าทั้งหลายถือปฏิบัติ พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เรียกว่า ธุดงควัตร มี ๑๓ ข้อ แล้วแต่ผู้ใดจะเลือกปฏิบัติข้อใด
วันหนึ่งได้เดินธุดงค์ไปถึงวัดกลาง ซึ่งเป็นวัดมหานิกายแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ตัดสินใจศึกษาต่อเน้นหลักสูตรการฝึกหัดครู เพื่อจะได้ออกไปรับราชการได้ในภายหลัง แต่คงเป็นด้วยอำนาจบุญบารมีที่จะทำให้หลวงปู่ได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ต่อไป จึงได้เกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น กล่าวคือ บังเอิญวันนั้นเป็นวันพระ ที่วัดมีงานปลงผม (โกนผม) พระในวัด หลวงปู่ได้ช่วยงานปลงผมพระจำนวน ๓๐ รูป
หลังจากช่วยงานเสร็จแล้วรู้สึกอ่อนเพลียมาก จึงได้กลับไปจำวัด (นอน) เมื่อตื่นนอนขึ้นมา ปรากฏว่าไม่สามารถลุกขึ้นได้ มีอาการชาตามแขนขา ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งอาการเช่นนี้หลวงปู่เล่าว่าเป็นอยู่นานประมาณ ๖ เดือน จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาต่อดังที่ตั้งใจไว้ได้ และด้วยอานิสงส์แห่งบุญบารมีในอดีตชาติที่ได้บำเพ็ญเพียรมา จึงทำให้ขณะที่ป่วยนั้นเกิดมีแรงดลใจนึกรู้ขึ้นมาเอง (นิรุตติ) ว่า จะหายป่วยจากโรคนี้ได้จะต้องกลิ้งตัวบนยอดหญ้าที่มีน้ำค้างเกาะ แล้วต้องอาบน้ำอุ่นจัดประมาณ ๒ โอ่งมังกร ทุกเช้า ทุกวัน จึงจะหาย ดังนั้น หลวงปู่จึงได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระลึกรู้ขึ้นมานั้น เมื่อปฏิบัติแล้วได้มานั่งพิจารณาตามเนื้อตัวของตนเอง พบว่ามีเหงื่อผุดออกมาตามรูขุมขน ขนาดใหญ่เท่าเม็ดข้าวโพด แม้จะเอาผ้าเช็ดตัวมาเช็ด เหงื่อก็ยังผุดออกมาตลอดเวลา ทำให้ตัวเบาขึ้น
หลวงปู่ได้ปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน ตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม อาการดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อหายป่วยแล้วได้เดินทางกลับอำเภอมุกดาหาร (ปัจจุบันถูกตั้งให้เป็นจังหวัดมุกดาหารแล้ว) ขณะนั้นมีอายุย่างเข้า ๒๐ ปี จึงตั้งใจจะบวชเป็นพระ เพราะอายุครบที่จะบวชพระได้แล้ว และคิดเสียสละชีวิตดังที่เคยอธิษฐานไว้ว่า “ถ้าไม่มีบุญบารมีก็จะหนีไปตายดีกว่า” บิดาจึงทำพิธีบวชพระให้ในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยมี พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสารภาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอธิการทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ที่ วัดหัวเวียงรังษี ตำบลพระธาตุ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยพระอุปัชฌาย์ขนานนามเป็นภาษามคธให้ว่า “ฐิตธมฺโม” แปลว่า “ตั้งมั่นในธรรม”
เมื่อบวชแล้ว ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าศีลาวิเวกกับท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน เช่นเดิม ที่วัดนี้หลวงปู่ได้เริ่มฝึกปฏิบัติตนตามแนวพระป่าอย่างจริงจัง ด้วยอุปนิสัยเดิมที่ติดตัวมาจากอดีตชาติ จนกระทั่งเข้าพรรษาที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๐ (อายุประมาณ ๒๑ ปี หลวงปู่จึงเดินทางไปยัง วัดเกาะแก้วอัมพวัน ตำบลพระธาตุ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล จำพรรษาอยู่ แต่ในพรรษานั้นหลวงปู่เสาร์ได้ไปจำพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ทำให้หลวงปู่ไม่ได้พบกับหลวงปู่เสาร์
ขณะที่จำพรรษาอยู่วัดเกาะแก้วอัมพวันแห่งนี้ หลวงปู่ได้เริ่มอดอาหารเพื่อทรมานสังขารเป็นครั้งแรก ฉันแต่น้ำปานะเท่านั้น นับเป็นเวลา ๑๕ วัน และปักกลดในป่าช้าตลอดพรรษา (โสสานิกังคะ คือ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร) การฝึกอดอาหารนี้พระป่านิยมฝึกปฏิบัติกัน เพราะช่วยทำให้ตัวเบา ไม่ง่วงเหงาหาวนอน มีผลดีต่อการบำเพ็ญเพียรสมาธิภาวนา ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติสมาธิภาวนาได้ต่อเนื่องยาวนาน เกิดความก้าวหน้าในการฝึกจิต ส่วนการทรมานสังขารและปักกลดในป่าช้า จะเป็นการช่วยฝึกสติ ทำให้ไม่ประมาท หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่จึงเดินทางกลับมาที่วัดป่าศีลาวิเวก ขณะนั้น ท่านพระอาจารย์เกียง เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ซึ่งย้ายไปอยู่ วัดบ้านกุดแห่ (วัดป่าสุนทราราม) อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน) ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๘๑
ในเวลาต่อมา พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร เจ้าอาวาสวัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (พระอาจารย์อุ่น เดิมอยู่วัดศรีษะเกษ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แต่เดิมท่านญัตติเป็นมหานิกาย ต่อมาญัตติใหม่เป็นธรรมยุติกนิกาย มีนิสัยเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างอุกฤษฏ์ อดนอน และฉันเจตลอดชีวิต พระอาจารย์อุ่นได้เดินทางมาเที่ยววิเวกที่วัดป่าศิลาวิเวก และเมื่อท่านจะเดินทางกลับ ได้ชักชวนพระติดตามไปด้วยอีก ๓๐ รูป ซึ่งในพระกลุ่มนี้มี หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม รวมอยู่ด้วย การเดินทางติดตามพระอาจารย์อุ่นมาจังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่ได้มาจำพรรษาที่วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก) และได้จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมาจวบจนปัจจุบันนี้
ที่วัดบ้านจิก พระทุกรูปถือปฏิปทาการฉันเจเป็นวัตร เนื่องจากนายพันตำรวจโทพระยงค์พลพ่าย กับภรรยาคือคุณแม่ทิพย์ ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากสำคัญของวัดนี้ ได้มีศรัทธาประกอบอาหารเจถวายพระอยู่เสมอ (อาหารเจในสมัยนั้นไม่มีผักผลไม้มากมายเหมือนปัจจุบัน จะมีเพียงพริกโขลกผสมกับเกลือและผักบางชนิดเท่านั้น) การฉันเจนี้ช่วงแรกๆ ที่ฉัน ร่างกายยังปรับตัวไม่ได้ จะมีอาการอ่อนเพลีย แต่พระทุกรูปพอใจที่จะฉันเช่นนี้เนื่องจากถือว่าเป็นการฝึกทรมานตนเองไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร เมื่อออกธุดงค์ไปในป่าจะได้มีความอดทน สามารถฉันตามมีตามเกิดได้
เมื่อย่างเข้าพรรษาที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่มีอายุประมาณ ๒๔ ปี พระอาจารย์อุ่นเริ่มนำคณะซึ่งประกอบด้วยหลวงปู่ และพระเณรประมาณ ๓๐ รูป ออกธุดงค์ เมื่อเดินทางไปถึงบ้านปากดง หลวงปู่เกิดมีความคิดที่จะกลับไปศึกษาต่อเพื่อออกไปรับราชการใช้ชีวิตอย่างฆราวาสอีก จิตมันถอยกลับไม่อยากอยู่เป็นพระอีกต่อไป จึงได้เดินทางกลับมายังวัดบ้านจิก ส่วนพระอาจารย์อุ่นยังคงอยู่ที่บ้านปากดงเช่นเดิม
แต่เป็นเรื่องที่แปลกมาก ทุกครั้งที่พระอาจารย์อุ่นบำเพ็ญภาวนา จิตจะไม่ยอมรวมลง และมักจะเกิดนิมิตเห็นหน้าหลวงปู่อยู่เสมอ จิตอ่อน น้ำตาตกใน จึงปรารภกับตัวเองว่า พระองค์นี้สำคัญแค่ไหน แม่ของเราแท้ๆ ซึ่งเราเองก็คลอดออกมาจากท้องแม่ เมื่อแม่เสียชีวิตเรายังไม่ถึงกับน้ำตาไหลเลย ทำไมพระองค์นี้จึงทำให้น้ำตาเราไหลได้ จึงอธิษฐานจิตก่อนนั่งสมาธิเพื่อขอทราบว่า พระองค์นี้มีบุญบารมีเพียงใด เมื่อนั่งภาวนาต่อไปอีก ๒ ชั่วโมง สมาธิจึงลงได้
เกิดนิมิตครั้งแรก พบว่าพระอาจารย์อุ่นและหลวงปู่ได้ธุดงค์เข้าไปในป่า ซึ่งทางเข้าป่านั้นมีศาลาที่พักริมทางสำหรับคนเดินทาง หลวงปู่ได้นิมนต์พระอาจารย์อุ่นให้นั่งพักบนศาลา และในขณะนั้นมีชีปะขาวรูปหนึ่งขึ้นมาถวายน้ำ
พระอาจารย์อุ่นจึงพูดขึ้นว่า น้ำใสจริง แล้วต่างองค์ต่างก็ฉันน้ำจนหมดแก้ว
จากนั้นหลวงปู่จึงพูดขึ้นว่า ถึงเวลาแล้วจะต้องเดินทาง
และเมื่อเดินทางเข้าไปในป่า พระอาจารย์อุ่นเดินนำหน้าไปถึงกลางดง ได้พบท่อนซุงท่อนใหญ่ล้มขวางทางอยู่ หลวงปู่จึงนิมนต์พระอาจารย์อุ่นให้นั่งภาวนาบนท่อนซุงนั้น โดยทั้งสององค์จะนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเหมือนกัน
พระอาจารย์อุ่นหันมามองหลวงปู่ เห็นหลวงปู่เคี้ยวหมากปากเปื้อนน้ำหมากเป็นสีแดง จึงถามว่า ท่านทำไมจึงเคี้ยวหมากปากแดง
หลวงปู่ตอบว่า ชาวบ้านเขาถวายหมาก ท่านอาจารย์จะรับหมากด้วยกันหรือไม่
พระอาจารย์อุ่นจึงตอบว่า ไม่ ขี้เกียจบ้วนน้ำหมาก
หลวงปู่จึงพูดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเดินทาง
ในระหว่างที่เดินทางไปธุดงค์ในนิมิตนั้น หลวงปู่ได้บ่นกับพระอาจารย์อุ่นว่า ทำไมหนอการบำเพ็ญเพียรจึงต้องทุกข์ยากลำบากขนาดนี้
พระอาจารย์อุ่นได้ตอบว่า ทุกข์มากเท่าใด เราก็จะได้รับความสุขมากเท่านั้น (หมายความว่า ทุกข์เป็นของมีค่า บุคคลใดได้เห็นทุกข์ บุคคลนั้นย่อมหาเหตุแห่งการพ้นทุกข์ และบุคคลนั้นย่อมมีโอกาสพ้นทุกข์ได้นั่นเอง)
ขณะเดินทางในนิมิตนั้น หลวงปู่จะถือไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดทางเดิน พร้อมทั้งสะพายเครื่องอัฐบริขารไปด้วย
พระอาจารย์อุ่นเดินตามมาข้างหลังจึงถามหลวงปู่ว่า ไม่หนักหรือเพราะต้องสะพายทั้งเครื่องอัฐบริขารและกวาดทางเดินไปด้วย กวาดเพื่ออะไร
หลวงปู่ตอบว่า กวาดเพื่อปัดขวากหนามออก ทำให้คนเดินทางได้สะดวกขึ้น
พระอาจารย์อุ่นจึงบอกว่า วางเครื่องอัฐบริขารลงก่อน จะได้ไม่หนัก
หลวงปู่ตอบว่า หนักไม่เป็นไร
เมื่อเดินทางต่อไปเรื่อยๆ จะพบทางสองแพร่ง ทางหนึ่งเป็นทางชัน มีเสียงการละเล่นมหรสพดังมาด้วย อีกทางหนึ่งเป็นทุ่งหญ้า หลวงปู่ตัดสินใจจะเดินไปทางชันที่มีเสียงมหรสพ แต่พระอาจารย์อุ่นบอกว่าให้ไปทางที่มีทุ่งหญ้าดีกว่า แล้วเดินนำทางไป หลวงปู่จึงเดินตามพระอาจารย์อุ่นไป และพบว่าทุ่งหญ้านั้นเขียวขจี เรียบและนุ่มประดุจพรมกำมะหยี่ หลวงปู่จึงพูดขึ้นว่า ถึงเวลานั่งภาวนาแล้ว
ทั้งพระอาจารย์อุ่นกับหลวงปู่จึงนั่งลงภาวนาหันหน้าเข้าหากัน
เมื่อนั่งภาวนาไปได้พักหนึ่ง หลวงปู่จึงแบมือทั้งสองข้างออกมาข้างหน้าพร้อมกับกล่าวว่า คนเรียนเหมือนคนนอนหลับ คนปฏิบัติเหมือนคนแบมือรับ
พระอาจารย์อุ่นกล่าวตอบรับว่า จริงแล้ว พร้อมกับยื่นลูกแก้วให้ ๒ ลูก ลูกหนึ่งเป็นสีขาว อีกลูกหนึ่งเป็นสีเหลือง
หลวงปู่กำลูกแก้วไว้ในมือข้างละลูก เมื่อลุกขึ้นยืนจะเอาลูกแก้วใสเก็บไว้ในย่าม ปรากฏว่าตัวท่านมีย่าม ๒ ใบ สะพายอยู่ข้างซ้ายและขวา จึงใส่ลูกแก้วลงในย่ามข้างละใบพร้อมทั้งกล่าวว่า ถึงเวลาต้องเดินทางต่อแล้ว
(ความตอนนี้หลวงปู่ได้เมตตาอธิบายความหมายให้ฟังว่า คนเรียนเหมือนคนนอนหลับ หมายความว่า คนที่เรียนรู้แต่ทฤษฎีเป็นคนไม่รู้จริง เปรียบเสมือนคนนอนหลับ คนปฏิบัติเหมือนคนแบมือรับ หมายความว่า คนที่เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติหรือผู้ที่ปฏิบัติจริงจังจึงจะเป็นผู้รู้จริง เปรียบเสมือนคนแบมือออกรับ ลูกแก้วสีขาวก็คือแก้วรัตนตรัยหรือความบริสุทธิ์ ลูกแก้วสีเหลืองก็คือสีผ้ากาสาวพัสตร์ ซึ่งเป็นสีธงชัยของพระอริยเจ้านั่นเอง)
เมื่อเดินทางออกมาพ้นจากทุ่งหญ้าก็พบทางสามแพร่ง มีวงเวียนอยู่ตรงกลางปรากฏเห็นปราสาท ๓ หลัง แต่ละหลังหันไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ตามลำดับ ปราสาททุกหลังจะประดับด้วยแก้ว พระอาจารย์อุ่นให้หลวงปู่ไปตรวจดูปราสาทแต่ละหลังก่อนที่จะขึ้นไปนั่งภาวนา เมื่อหลวงปู่ขึ้นไปบนปราสาทหลังแรก ปรากฏว่าพระอาจารย์อุ่นก็เดินขึ้นไปบนปราสาทอีกหลังหนึ่งแล้ว พระอาจารย์ทั้งสองต่างพูดขึ้นพร้อมกันว่า เสนาสนะนี้เป็นที่สัปปายะ จิตพระอาจารย์อุ่นก็ถอนออกจากสมาธิ ทั้งหมดนี้เป็นนิมิตในวันแรกของการอธิษฐาน
อ้างอิง
http://www.dhammajak.net
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
1851 ครั้ง
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
mon37
ชื่อร้าน
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
URL
http://www.mon99.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0903569057
ID LINE
Golf (ID LINE:Golf6), (มน ID:090-3569057)
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี